Articles

Long-boat Racing

Long-boat Racing is one of the traditional rites which marks the end of the Buddhist Rains Retreat. It mainly takes place in the 11th or 12th lunar months (around September or October). When the water level is at its highest. At this time, racing is held almost nationwide, notably in Phichit, Phitsanuloke, Nan, Angthong, Pathumthani, Surat Thani and Ayutthaya etc.

 Traditionally, long-boat racing is held as an annual event by provinces with a major waterway flowing through. It is not restricted to any particular region. At present, long-boat racing is considered as a national sport, its history can be traced back to Ayutthaya period some 600 years ago. However, boat racing in those days was just only a means to keep boat men physically and mentally fit for national defence.

 Usually racing boats are made from dugout tree trunks and can accommodate up to 60 oarsmen sitting in a double row. The oarsmen usually dress in the same colour. The festive event draws several hundreds of local and foreign spectators who watch the race along both sides of the riverbank enthusiastically. At the end, trophies and prizes are given to the winning teams.

 

การแข่งเรือยาว

การแข่งเรือยาวเป็นประเพณีอย่างหนึ่งซึ่งจัดขึ้นในช่วงสิ้นสุดฤดูกาลเข้าพรรษา โดยปกติแล้วจะมีขึ้นในเดือน 11 หรือ 12 (ประมาณเดือนกันยายนหรือตุลาคม) เมื่อระดับน้ำขึ้นสูงสุด ณ เวลานี้ การแข่งขันจะจัดขึ้นเกือบทั่วทั้งประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก น่าน อ่างทอง ปทุมธานี สุราษฎร์ธานีและอยุธยา เป็นต้น

 ตามประเพณีแล้ว การแข่งเรือยาวจะจัดขึ้นเป็นงานประจำปี โดยจังหวัดซึ่งมีทางน้ำใหญ่ไหลผ่านไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะภาคใดภาคหนึ่ง ปัจจุบันนี้ การแข่งเรือยาวถือเป็นกีฬาประจำชาติ ประวัติการแข่งขันเรือยาวนี้ย้อนกลับไปในยุคกรุงศรีอยุธยาประมาณ 600 ปีมาแล้ว แต่ว่าการแข่งเรือในสมัยนั้นเป็นเพียงเพื่อให้นักพายเรือมีความพร้อมทั้งทางด้านกายและจิตใจเพื่อการป้องกันประเทศ

 โดยปกติเรือแข่งนี้จะทำจากลำต้นไม้ขุดและสามารถบรรจุฝีพายได้ถึง 60 คนนั่งคู่กันสองแถว ตามปกติแล้ว ฝีพายจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีเดียวกัน ประเพณีนี้จะดึงดูดคนดูทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศหลายร้อยคนผู้ซึ่งจะนั่งดูการแข่งขันบนฝั่งแม่น้ำสองฝั่งอย่างกระตือรือล้น เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันก็จะมีการแจกถ้วยและรางวัลให้แก่ทีมที่ชนะด้วย

New Year’s Day

Thailand is well-known for her festivals which take place all the year round. Most of these festivals are influenced by Buddhist and Brahminical religions, however, with the passage of time a number of them have been adopted in deference to the international practice.

 Actually, the official New Year’s Day of Thailand has undergone several changes. Once it used to fall at the end of November. Later, during the reign of King Rama V(1868-1910) it was moved to a date round about April and then New Year’s Day was changed to April the first. The universal practice of celebrating the new year on January 1 was adopted in 1941 in deference to the western calendar and this is one of a number of changes aimed at modernising the country.

 Though January 1 is regarded as official New Year, the majority of Thais still regard the middle of April (Songkran) as their new year’s day, and on this auspicious occasion a week-long celebration is held throughout the kingdom. Most of activities on Songkran Day involve water throwing, building sand pagodas and pouring lustral water on the aged as a means of blessing. To be frank, a celebration on January 1 is not so popular as that of Songkran. Normally, before the upcoming January 1, people will exchange greeting cards and gifts. Since on this auspicious occasion, a few grand celebrations are held in the kingdom, people take this opportunity to travel upcountry to visit their relatives or spend holidays at a tourist attraction site, while those stay at home will prepare food and other necessary items to make merit on the early morning of January 1 and then take part in various charitable activities held in various places.

 At the same time, several companies take this opportunity to give a bonus and announce promotions to their employees who later cash money to buy gifts for relatives and friends before heading to their hometown for a long vacation.

 Obviously, in Thailand people celebrate New Year three times a year, namely ; the Thai traditional New Year or Songkran, January 1 and the Chinese New Year. Out of these, Songkran is the most joyous occasion which draw people from all walks of life to take part in a week-long celebration. Meanwhile, the Chinese New Year is important especially for Thai organisations will close their business for several days so that the employers and their employees will be able to celebrate the auspicious occasion with their relatives at home or spend a long holiday in a place they like.

วันขึ้นปีใหม่

ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการจัดฉลองเทศกาลตลอดทั้งปี เทศกาลเหล่านี้ได้รับอิทธิพลมาจากทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ เมื่อกาลเวลาผ่านไป เทศกาลต่าง ๆ เหล่านี้ก็ถูกดัดแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับสากลนิยมบ้าง

 ที่จริงแล้ว วันขึ้นปีใหม่ของไทยอย่างเป็นทางการนี้ได้รับการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งหลายคราว ครั้งหนึ่งเคยถือเอาปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 ถึง 2453) วันขึ้นปีใหม่กำหนดให้อยู่ในช่วงเดือนเมษายนจนกระทั่งเปลี่ยนมาถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ การถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามหลักสากลนิยมนั้นเพิ่งจะได้นำมาประยุกต์ใช้ในปี พ.ศ. 2484 เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินตะวันตกและนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งในหลาย ๆ สิ่งที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประเทศก้าวไปสู่สมัยใหม่

 ถึงแม้ว่า วันที่ 1 มกราคม จะถือปฏิบัติเป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงถือเอากลางเดือนเมษายน (วันสงกรานต์) เป็นวันขึ้นปีใหม่และในโอกาสอันเป็นมงคลนี้นั้นการเฉลิมฉลองเป็นเวลานานนับสัปดาห์ก็จะจัดให้มีขึ้นทั่วราชอาณาจักร ส่วนใหญ่กิจกรรมในวันสงกรานต์นี้จะเกี่ยวกับการสาดน้ำใส่กัน สร้างเจดีย์ทราย และรดน้ำหอมให้กับผู้สูงอายุเพื่อความเป็นสิริมงคล ความจริงแล้ว การฉลองวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคมนั้น จะได้รับความนิยมน้อยกว่าวันสงกรานต์มาก โดยปกติก่อนวันที่ 1 มกราคม ผู้คนก็จะแลกบัตรอวยพรและของขวัญแก่กันและกัน เนื่องจากในวันนี้การเฉลิมฉลองอย่างมโหฬารจะจัดให้มีขึ้นเพียงไม่กี่แห่ง ผู้คนก็เลยถือโอกาสนี้ไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อเยี่ยมญาติ ๆ หรือไม่ก็ไปใช้วันหยุดในสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในขณะที่ผู้ที่อยู่บ้านก็จะเตรียมอาหารและเครื่องไทยธรรมอื่นๆ เพื่อทำบุญตักบาตรในเช้าตรู่ของวันที่ 1 มกราคม และยังเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลต่าง ๆ ที่จัดให้มีขึ้นตามสถานที่ต่าง ๆ

 ในขณะเดียวกัน หลายบริษัทก็จะถือเอาโอกาสนี้แจกเงินโบนัสและประกาศเลื่อนขั้นพนักงานผู้ซึ่งหลังจากนี้ก็จะรีบถอนเงินซื้อของขวัญเพื่อแจกญาติ ๆ และเพื่อนฝูงก่อนที่จะบ่ายหน้าไปยังบ้านเกิดเพื่อใช้วันหยุดอันยาวนาน

 จะเห็นได้ชัดว่า คนไทยจะฉลองวันขึ้นปีใหม่ 3 ครั้งต่อปีเลยก็ว่าได้ กล่าวคือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีหรือวันสงกรานต์ วันที่ 1 มกราคม และวันตรุษจีน ใน 3 วันนี้ วันสงกรานต์เป็นโอกาสที่สนุกสนานที่สุด เพราะว่าประชาชนจากทุกสาขาอาชีพต่างพร้อมใจกันเข้าร่วมฉลองเป็นเวลานับสัปดาห์ ในขณะที่วันตรุษจีนก็มีความสำคัญเท่า ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนไทยเชื้อสายจีน ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่วันหยุดของทางราชการ บริษัทเอกชนส่วนใหญ่ก็จะหยุดดำเนินธุรกิจเป็นเวลาหลายวัน เพื่อให้ทั้งนายจ้างและพนักงานได้เข้าร่วมฉลองโอกาสอันเป็นมงคลนี้ร่วมกับญาติ ๆ ที่บ้านหรือไม่ก็ใช้วันหยุดตามสถานที่ที่ตนพอใจ

The Teacher’s Day

In 1956 Prime Minister Field Marshal P. Pibulsongkram, who was the Honorary Chairman of the Board of Directors of the Teachers’ Council at that time, addressed a gathering of teachers from throughout the country and suggested that as teachers were our benefactors and persons who gave light to our life they should have a day of their own so that their students would get an opportunity to pay respect to them. He continued, “On other auspicious days such as New Year’s Day and the Songkran Festival we pay a tribute to both our living and dead relatives and make merit in dedication to their souls. Since our teachers play an important role next to our parents, I would like to propose the idea to this gathering and ask you to consider it in principle. I hope no one will object to this idea.”

 As a result of his remarks and the welcoming opinions expressed by the teachers through the media, which reported that a Teachers’Day should be held in order to remember their significance as the ones who make a great sacrifice and do good deeds for the benefit of the nation and the people as a whole. The Teachers’ Council unanimously agreed to set up Teachers’ Day in order to hold a ceremony to pay a tribute to the teachers, to promote unity among teachers and to promote better understanding between teachers and the general public.

 Thus, on November 21, 1956, the Cabinet passed a resolution to announce January 16 of every year as Teachers’ Day and it was celebrated for the first time on January 16, 1957. The event has been held since then and is held nationwide. The highlights of the day include religious activities, a ceremony of paying respect to teachers and activities to strengthen unity among teachers.

 To express our gratitude to the teachers, we wish them and their families happiness and a good health throughout their long life.

วันครู

ในปี พ.ศ. 2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ในสมัยนั้นได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศและได้เสนอแนะว่า “เนื่องจากครูเป็นผู้มีบุญคุณและเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ครูจึงควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้มีโอกาสแสดงความเคารพสักการะ จะเห็นว่าในวันสำคัญอื่น ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่และวันสงกรานต์ พวกเราก็จะแสดงความเคารพสักการะต่อญาติๆ ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และที่เสียชีวิตไปแล้ว และยังมีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้วอีกด้วยและเนื่องจากครูของพวกเรามีบทบาทสำคัญถัดจากบิดามารดาข้าพเจ้าจึงใคร่ที่จะเสนอความคิดนี้ ต่อที่ประชุมนี้และขอร้องให้พวกท่านนำไปพิจารณาในหลักการ หวังว่าทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”

 จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชน ล้วนเรียกร้องให้มีวันครู เพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ที่ประชุมคุรุสภาจึงมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อที่จะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

 ดังนั้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้วันที่ 16 มกราคม ของทุก ๆ ปีเป็น “วันครู” และการจัดงานวันครูได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 และได้ดำเนินเรื่อยมาทุกปีนับแต่บัดนั้นมาโดยจัดให้มีขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งกิจกรรมหลักในวันนั้นประกอบด้วยพิธีกรรมทางศาสนา พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์และกิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู

 เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อครู พวกเราจึงขออวยพรให้ท่านและครอบครัวของท่านมีความสุข ความเจริญและมีสุขภาพแข็งแรงตราบชั่วอายุไขอันยาวนาน

National Children’s Day

Children are considered as the most valuable resources of the nation. They are a powerful force in the development and stability of the nation. Normally, the age of children taking part in the celebrations should be less than 14 years old.

 To prepare themselves to be strength of the nation, children should be industrious in their study, make use of their time wisely, being disciplined, diligent, helpful to each other, unselfish, being aware of right and duty and responsible towards the society. In addition, they should keep the country clean and conserve the natural environment and public property. If children are aware of their own future and of the nation by behaving in such a way, they will be called “Worthy Children” and the country will be prosperous.

 At the same time, to stimulate children to be aware of their significant role in the country, the National Children’s Day was held for the first time on the first Monday of October 1955 and continued until 1963. Then it was changed to the second Saturday of January as at this time the rainy season is over and it is a government holiday. This is still in practice today.

 The government has set up an organising committee to co-ordinate with several agencies in both public and private sectors to organise the celebration simultaneously throughout the country. The objectives are to enable children to realize their importance, to be disciplined, being aware of right and duty, responsibility towards the society, be proud of their country, Religion and Monarchy, and believe in a democratic system having the King as the head of state.

 Every year on this day, His Majesty the King gives an advice while the Supreme Patriarch gives a moral teaching. The Prime Minister also gives a slogan. This indicates that children are the most valuable resource of the nation. We often hear the saying that, “Children are the future of the nation, if the children are intelligent, the country will be prosperous.” Therefore, children should ask themselves whether they are worthy children or not.

 On this day, many interesting places such as the Duzit Zoo, the Army, Navy, and Airforce bases, Government House and Parliament House are opened for children to visit. Thus, all children look forward to National Children’s Day.

วันเด็กแห่งชาติ

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง โดยปกติอายุของเด็กที่เข้าร่วมฉลองในงานนี้จะต่ำกว่า 14 ปี

 เพื่อเตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ เด็กควรจะมีความขยันหมั่นศึกษาหาความรู้ รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ มีระเบียบวินัย ขยันขันแข็ง ช่วยเหลือกันและกัน เสียสละรู้จักสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งรักษาความสะอาดและรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสาธารณสมบัติ ถ้าหากเด็กตระหนักถึงอนาคตของตนเองและของชาติโดยการปฏิบัติตนตามที่กล่าวมานั้น ก็จะได้ชื่อว่าเป็น “เด็กดี” และประเทศชาติก็จะเจริญรุ่งเรือง

 ในขณะเดียวกัน เพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ จึงได้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 และถือปฏิบัติเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2506 แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เพราะเป็นช่วงหมดฤดูฝนแล้วและเป็นวันหยุดราชการอีกด้วย ดังนั้นจึงถือปฏิบัติมาจนถึงวันนี้

 ในการจัดงานวันเด็กแห่งชาตินั้น ทางรัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งทางภาครัฐและเอกชนเพื่อจะได้จัดฉลองพร้อมกันทั่วทั้งประเทศโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเองมีระเบียบวินัย ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความภูมิใจในชาติศาสนา และพระมหากษัตริย์ ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข

 ทุกๆ ปี ในวันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชเจา ทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญวันเด็ก นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชาติ เราจึงได้ยินคำพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า “เด็กคืออนาคตของชาติ เด็กฉลาด ชาติเจริญ” ดังนั้นเด็ก ๆ จึงควรถามตนเองว่าตนเป็นเด็กดีหรือไม่

 ในวันนี้สถานที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น สวนสัตว์ดุสิต กองทัพบก กองทัพเรือ และฐานทัพอากาศ ทำเนียบรัฐบาล และรัฐสภาต่างก็เปิดให้เด็กๆ เข้าชม ดังนั้นเด็กๆ ต่างก็คอยให้ถึงวันเด็กเร็ว ๆ

Lesson Plan

แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ               สาระที่ 1,2                          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

เรื่อง Self – Describing            หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 People and Places             เวลา  2 ชั่วโมง

สอนวันที่         (ม. 3/1)…………………..เดือน………………………………….ปี…………………….

                   (ม. 3/2)…………………..เดือน………………………………….ปี…………………….

                   (ม. 3/3)…………………..เดือน………………………………….ปี…………………….

                   (ม. 3/4)…………………..เดือน………………………………….ปี…………………….

เป้าหมายการเรียนรู้

มาตรฐานการเรียนรู้และทักษะกระบวนการ

สาระที่ 1  ภาษาเพื่อการสื่อสาร

     มาตรฐาน ต 1.2 ม.3/1-3 

สาระที่ 2  ภาษาและวัฒนธรรม

     มาตรฐาน ต 2.1 ม. 3/1  และ ต 2.2 ม.3/2

ทักษะคร่อมวิชา   ทักษะการฟัง ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน

ความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น   สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม; คณิตศาสตร์ ; สุขศึกษาและพลศึกษา

ความคิดหลัก  โครงสร้าง Present Simple Tense และ Present Continuous Tense เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการแนะนำตนเองและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

ความเข้าใจที่ยั่งยืน  การใช้คำศัพท์และประโยคโครงสร้างภาษาอังกฤษที่จำเป็นต่อการสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับ              การทักทาย การเดินทาง การบอกเส้นทาง และการขอและให้คำแนะนำในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

 

สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้  การใช้คำศัพท์ที่จำเป็นและประโยคโครงสร้างในรูปของ Present Simple Tense และ Present Continuous Tense ในการแนะนำตัวเองและบรรยายเหตุการณ์ในรูปภาพ

สาระสำคัญ

          การสนทนาสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยใช้โครงสร้างในรูปของ Present Simple Tense และ Present Continuous Tense นับว่าเป็นรูปแบบที่เป็นพื้นฐานต่อการเรียนการสอน และเป็นพื้นฐานในการแนะนำตนเองหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้                :  การใช้คำศัพท์ที่จำเป็นและประโยคโครงสร้างในรูปของ Present Simple Tense

และ Present Continuous Tense ในการแนะนำตัวเองและบรรยายเหตุการณ์ในรูปภาพ

ด้านทักษะกระบวนการ  :  การใช้คำศัพท์และประโยคโครงสร้างภาษาอังกฤษในรูปของ Present Simple

                                Tense และ Present Continuous Tense ในการสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับการ

                                ทักทาย การแนะนำตนเองและเหตุการณ์

ด้านคุณลักษณะ           : การตระหนักถึงความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมการทักทายแบบ

  เป็นทางการ (Formal) และแบบไม่เป็นทางการ (Informal)

 

สมรรถนะสำคัญ

1)      มีความสามารถในการสื่อสาร

 

คุณลักษณะที่พึงประสงค์

1)      มีวินัย

2)      ใฝ่เรียนรู้

 

ร่องรอย หลักฐานการเรียนรู้

ผลงานปฏิบัติ / ชิ้นงาน

1)      การทดสอบความรู้ก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้

2)      การอธิบายเกี่ยวกับตัวเองและบรรยายรูปภาพ

3)      การทำแบบฝึกหัดตามแบบฝึกในหนังสือเรียน Your Turn 3 และหนังสือแบบฝึกหัด Your Turn 3

–                   กิจกรรมที่ 4 – 7 ในหนังสือเรียน  หน้า 6

–                   Pair work Activity 1A จากหนังสือเรียน หน้า 111 , 113

–                   แบบฝึกหัด  หัวข้อ  Grammar ในหนังสือแบบฝึกหัด  หน้า 4 – 6

4)      การสังเกตระหว่างการทำกิจกรรม เช่น สังเกตการโต้ตอบสนทนา การจับคู่ และทำแบบฝึกหัด

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการวัด/สิ่งที่วัด

1)      การทดสอบความรู้ก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้

2)   การอธิบายเกี่ยวกับตัวเองและบรรยายรูปภาพ

3)      การทำแบบฝึกหัดตามแบบฝึกในหนังสือเรียน Your Turn 3 และหนังสือแบบฝึกหัด Your Turn 3

–                   กิจกรรมที่ 4 – 7 ในหนังสือเรียน  หน้า 6

–                   Pair work Activity 1A จากหนังสือเรียน หน้า 111 , 113

–                   แบบฝึกหัด  หัวข้อ  Grammar ในหนังสือแบบฝึกหัด  หน้า 4 – 6

4)      การสังเกตระหว่างการทำกิจกรรม เช่น สังเกตการโต้ตอบสนทนา การจับคู่ และทำแบบฝึกหัด

2. เครื่องมือวัด

1)      แบบประเมินการทดสอบความรู้ก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้

2)   แบบประเมินการอธิบายเกี่ยวกับตัวเองและบรรยายรูปภาพ

3)      แบบประเมินการทำแบบฝึกหัดตามแบบฝึกในหนังสือเรียน Your Turn 3 และหนังสือแบบฝึกหัด Your Turn 3

         –   กิจกรรมที่ 4 – 7 ในหนังสือเรียน  หน้า 6

        –   Pair work Activity 1A จากหนังสือเรียน หน้า 111 , 113

        –   แบบฝึกหัด  หัวข้อ  Grammar ในหนังสือแบบฝึกหัด  หน้า 4 – 6

4)      แบบการสังเกตระหว่างการทำกิจกรรม เช่น สังเกตการโต้ตอบสนทนา การจับคู่ และทำแบบฝึกหัด

3. เกณฑ์การวัด

1)      การทดสอบความรู้ก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้

ร้อยละของคะแนนที่ทำได้

ระดับคุณภาพ

ร้อยละ 80 ขึ้นไป

ร้อยละ 65 – 79

ร้อยละ 50 – 64

ร้อยละ 0 – 49

4

3

2

1

2)   การอธิบายเกี่ยวกับตัวเองและบรรยายรูปภาพ   40  คะแนน

         –        ความคล่องแคล่ว                    5        คะแนน

         –        การใช้คำศัพท์                        5        คะแนน

         –        การใช้โครงสร้างทางภาษา       5        คะแนน

         –        การใช้สายตา                          5        คะแนน

         –        การใช้น้ำเสียง                        5        คะแนน

         –        การใช้ภาษาท่าทาง                 5        คะแนน

         –         วิธีการทักทาย                        5        คะแนน

         –         วิธีการกล่าวลา                       5        คะแนน

3)      การทำแบบฝึกหัดตามแบบฝึกในหนังสือเรียน Your Turn 3 และหนังสือแบบฝึกหัด Your Turn 3

         –        กิจกรรมที่ 4 – 7 ในหนังสือเรียน  หน้า 6

         –        Pair work Activity 1A จากหนังสือเรียน หน้า 111 , 113

         –        แบบฝึกหัด  หัวข้อ  Grammar ในหนังสือแบบฝึกหัด  หน้า 4 – 6

4)      การสังเกตระหว่างการทำกิจกรรม เช่น สังเกตการโต้ตอบสนทนา การจับคู่ และทำแบบฝึกหัด

 

แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1                                                                      จำนวน …….. ชั่วโมง

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3                                                   วัน…………..เดือน………………….ปี…………..

ที่

ชื่อ – นามสกุล

ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมและชิ้นงาน

 

หมายเหตุ

การทำแบบทดสอบก่อนเรียน

การทำแบบทดสอบหลังเรียน

การมีส่วนร่วมในกิจกรรม

การจับคู่ทำแบบฝึกหัด

การทำแบบฝึกหัด

 

 

20  %

20 %

20  %

20 %

20 %

 

 

 

                 

 

                 

 

                 

สาระการเรียนรู้

โครงสร้างประโยค/ไวยากรณ์

        Present Simple tense

        Present Continuous tense

กิจกรรมการเรียนรู้

Warm up :

1.   ครูบอกจุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ว่า ก่อนที่จะเริ่มต้นเรียนในวันนี้จะมีการทดสอบความรู้ก่อนเรียนเป็นเวลา 25 นาที จากนั้นจะเป็นการปฐมนิเทศเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ การใช้หนังสือเรียน การทำแบบฝึกหัด การทำโครงงาน การตรวจให้คะแนน และการสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน ก่อนที่จะเข้าสู่การเรียนอย่างจริงจังในโอกาสต่อไป

2.   ครูถ่ายสำเนาแบบทดสอบ Test Yourself จากหนังสือแบบฝึกหัด หน้า 12 – 13 โดยอาจจะปรับปรุงเนื้อหาของแบบทดสอบตามความเหมาะสม แล้วอธิบายคำสั่งในการทำแบบทดสอบให้นักเรียนเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน ก่อนให้นักเรียนลงมือทำให้แล้วเสร็จภายในเวลา 25 นาที หลังจากเก็บแบบทดสอบก่อนเรียนแล้ว ครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าผลคะแนนจะแจ้งให้นักเรียนทราบต่อไปในชั่วโมงหน้า

3.   ครูปฐมนิเทศผู้เรียนเพื่อทำความตกลงร่วมกันในเบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนจะได้เรียนรู้จากหนังสือเรียน Your Turn 3 และหนังสือแบบฝึกหัด Your Turn 3 ตลอดจนวิธีการเรียนรู้การใช้หนังสือเรียน การทำแบบฝึกหัดที่มีทั้งการทำงานเดี่ยว การทำงานคู่ และการทำงานกลุ่ม ในรูป Mini Project การตรวจให้คะแนน การสอบกลางภาค และปลายภาค

4.   ครูและนักเรียนควรทำความเข้าใจและทำความตกลงร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ การวางแผนการเรียนรู้ การใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ ตลอดจนวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตั้งแต่ในชั่วโมงแรกของการจัดการเรียนการสอนซึ่งวิธีการที่ดีที่สุดก็คือการสอบถามความต้องการของนักเรียนถึงวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน ความสนใจของนักเรียน พื้นฐานความรู้ ทั้งนี้ ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยทำให้ครูผู้สอนรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมากยิ่งขึ้น และจะช่วยทำให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องและตรงกับความต้องการและความแตกต่างของนักเรียน

5.   ครูควรทำความเข้าใจกับนักเรียนเกี่ยวกับวิธีการรายงานผลการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษให้ชัดเจน เพื่อให้การติดตามและพัฒนาคุณภาพทางการเรียนของนักเรียนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง  ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนของนักเรียน เช่น ตัวนักเรียน ครูที่ปรึกษา ครูประจำชั้น ผู้ปกครอง และผู้บริหารสถานศึกษาควรจะได้รับทราบรายงานผลการเรียนของนักเรียนเป็นระยะๆ ทั้งนี้ วิธีการวัดประเมินผลที่ครูและนักเรียนได้ทำความตกลงร่วมกันควรมีอย่างหลากหลายวิธี สามารถวัดได้ตรงกับจุดประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังด้วย

 

Presentation:

1.   ครูแขวนแผนที่โลกขนาดใหญ่เพื่อดูจุดที่ตั้งของประเทศJamaicaและEnglandในส่วนของSwansea, South Wales และLondonไว้บนกระดานดำ และบอกให้นักเรียนใช้ประกอบการเรียนรู้ตามกิจกรรมที่ครูจะให้นักเรียนช่วยกันทำต่อไป

2.   นักเรียนทำงานกลุ่ม โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 6 – 8 คน จากนั้นให้เปิดหนังสือเรียน หน้า 6 (Module 1A / Exploring English) ครูเตรียมฉลากที่เขียนอักษร A – C ไว้ 2 ชุด แล้วให้ตัวแทนกลุ่มนักเรียนออกมาจับฉลาก กลุ่มใดจับได้ตัวอักษรใดก็ให้ดูภาพที่มีตัวอักษรนั้นกำกับอยู่

3.   นักเรียนช่วยกันเขียนประโยคบรรยายสิ่งที่เห็นในภาพให้ได้มากที่สุดตามความคิดของนักเรียนภายในเวลา 5 นาที จากนั้นครูให้นักเรียนกลุ่มที่จับได้ภาพ A ช่วยกันอ่านข้อความที่บรรยายใต้ภาพ A เพื่อดูว่าสิ่งที่กลุ่มเข้าใจนั้นมีข้อความใดที่ตรงกับเนื้อเรื่องบ้าง ในขั้นตอนนี้ครูให้นักเรียนออกมาชี้แผนที่โลกประกอบการทำกิจกรรม

4.   ครูทำกิจกรรมเช่นเดียวกันนี้กับนักเรียนกลุ่มที่เหลือที่จับฉลากได้ภาพ  B และ C จากนั้นสรุปใจความของเนื้อเรื่องร่วมกันโดยการใช้คำถามสอบถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจและวิธีการคิดของนักเรียน ทั้งนี้ คำถามอาจจะมาจากสิ่งที่นักเรียนนำเสนอซึ่งอาจจะตรง หรือไม่ตรงกับเนื้อเรื่องแต่ควรเป็นคำถามที่อยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ เช่น

  • Who have the same age? (Etta, Ashwin and Clare)
  • How old are they? (15 years old.)
  • Do you think that the people who have the same age love doing similar activities? Why?
  • Why do you think that Clare could be a good designer? (She loves drawing. / She’s good at painting. / She likes art.)
  • Why do you think that Ashwin and Laura have already had lunch? (They are in front of McDonalds.) etc.

5.   นักเรียนช่วยกันดูประโยคในเนื้อเรื่อง แล้วให้เลือกประโยคที่อยู่ในรูป Present Simple Tense และ Present Continuous Tense อย่างละ 3 ประโยค จากนั้นถามว่าทั้ง 2 Tense มีอะไรแตกต่างกันเพื่อให้นักเรียนใช้ความรู้เดิมมาตอบ

6.   ครูขออาสาสมัครเขียนตัวอย่างประโยคสั้น ๆ บนกระดาน แล้วทบทวนความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้ประโยคดังกล่าวร่วมกัน เช่น

  • Present Simple Tense (Subject + Verb ช่อง 1)

                   –    In my spare time, I play volleyball and I swim a lot at the local beach.

                   –    All of them are older than me so I spend my free time with my friends.

                   –    I want to be a fashion designer when I’m older.  etc.

  • Present Continuous Tense (Subject + Verb to be + Verb1 –ing)

                   –    She is visiting me at the moment.

                   –    I’m going out with Laura at the moment.

                   –    I’m decorating my room at the moment as you can see.         etc.

Practice:

7.   นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำกิจกรรมที่ 4 – 7 ในหนังสือเรียน  หน้า 6 ร่วมกัน แล้วช่วยกันเฉลยคำตอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่ 7 ให้นักเรียนฟัง  Audio CD  เพื่อตรวจสอบคำตอบที่ถูกต้อง ดังนี้

               Key      Exercise 4 :    1. a     2. b     3. b

                          Exercise 5 :    1. T     2. F     3. T     4. F     5. T     6. F

                          Exercise 6 :     Correct the false sentences from Exercise 5.

                                             2. Etta is playing volleyball. She is not swimming.

                                             4. Ashwin likes Laura.

                                               6. Clare wants to be a fashion designer.       

                            Exercise 7 : 1. Where does she live?

                                                 2. What is she doing?

                                                 3. Does Natalie live inSwansea?

                                             4. Does Ashwin play football?

                                             5. Who is Ashwin going out with?

                                             6. How old is Clare?

8.   นักเรียนจับคู่กันโดยใช้ Pair work Activity 1A จากหนังสือเรียน หน้า 111 และ Pairwork Activity 1B จากหนังสือเรียน หน้า 113 ทำกิจกรรมฝึกการใช้ประโยคสนทนาโต้ตอบเพื่อสอบถามข้อมูลในการเติมความลงไปในเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์

9.   ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบซึ่งเป็นการทบทวนการใช้ Present Simple Tense และ Present Continuous Tense ทั้งนี้ ครูอาจให้นักเรียนทบทวนกฎการใช้จาก Grammar Reference ที่อยู่ท้ายเล่มของหนังสือเรียนด้วยก็ได้       

Products: 

10. ครูและนักเรียนสรุปการใช้ Present Simple Tense และ Present Continuous Tense ร่วมกันอีกครั้ง และสอบถามหากยังมีนักเรียนคนใดยังไม่เข้าใจหรือไม่แน่ใจวิธีการใช้

11. นักเรียนทำแบบฝึกหัด  หัวข้อ  Grammar ในหนังสือแบบฝึกหัด  หน้า 4 – 6 เป็นการบ้าน ดังนี้

     –    หัวข้อ  Present Simple แบบฝึกหัด  ข้อ 1 – 5 (หน้า 4  – 5)

     –    หัวข้อ  Present Continuous แบบฝึกหัด  ข้อ 1 – 3 (หน้า 5 – 6)

12. ครูบอกให้นักเรียนทบทวนคำศัพท์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง Exploring English A – C  เพื่อเตรียมเขียน Dictation ในชั่วโมงหน้า ทั้งนี้ ครูควรอธิบายถึงความจำเป็นในการท่องจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่นักเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะสื่อสารโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว  มีสาเหตุสำคัญมาจากการคิดหาคำศัพท์เข้าไปสู่บริบทของเนื้อเรื่องที่จะสนทนาไม่ได้นั่นเอง  นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมความสามารถทางด้านการอ่านออกเขียนได้ (Literacy) ได้อีกทางหนึ่งด้วย

วัสดุอุปกรณ์ สื่อ และแหล่งการเรียนรู้

1)      หนังสือเรียน Your Turn 3

2)      หนังสือแบบฝึกหัด Your Turn 3

3)      Audio CD ประกอบหนังสือเรียน Your Turn 3

4)      พจนานุกรมอังกฤษ – อังกฤษ

5)      แผนที่ภูมิศาสตร์โลก (เน้นทวีปแอฟริกาและยุโรป)

6)      แผนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

7)      ใบงาน

8)      อินเทอร์เน็ต